วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558







 

บทที่ 1   บทนำ

1.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน


       เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับทะเลและเห็นได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณทะเลจะมีอาชีพการประมงหาปลาเป็นส่วนมาก ปลาที่ได้จากทะเลส่วนมากจะเป็นปลาทู
กลุ่มของดิฉันจึงคิดที่จะนำปลาทูมาดัดแปลงเป็นอีกหนึ่งเมนูคือ นักเก็ตปลาทูซึ่งดัดแปลงมาจากนักเก็ตไก่ที่มีขายตามท้องตลาดและยังนำปลาทูที่มีขายตามท้องตลาดและมีต้นทุนไม่สูงมากนักเพราะปลาทูเป็นปลาน้ำเค็มที่ไม่มีก้างขวางเนื้อสามารถแกะได้ง่าย
ดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงคิดทำผลิตภัณฑ์นักเก็ตปลาทูเพื่อมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จัดจำหน่ายในตลาดนัดโครงงานธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนนักศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้จริง


2. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน


  1.เพื่อผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่
  2.เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต
  3.เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ 
  4.เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประกอบอาชีพในตลาด
  5.เพื่อนำปลาทูมาดัดแปลงเป็น 1 เมนู


3. ระยะเวลาดำเนินงาน


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557  ระหว่างวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 จนถึงวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


4. สถานที่ดำเนินการทำโครงงาน


โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม หมู่ที่ 6 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่


5. การศึกษาข้อมูลของโครงงาน


5.1วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
                             5.1.1.ปลาทู
                             5.1.2.แป้งสาลี
                             5.1.3.ไข่ไก่
                             5.1.4.เกลือป่น
                             5.1.5.ผงฟู
                             5.1.6.เกร็ดขนมปัง
                             5.1.7.กระดาษซับมัน
                             5.1.8.เครื่องแกง
                                        -เครื่องเขียวหวาน  
                                        - เครื่องแกงต้มยำ
                                        - เครื่องแกงผัดไทย
                             5.1.9.น้ำมันพืช
                             5.1.10.แป้งข้าวโพด
               5.2 ศึกษาข้อมูลจากระบบออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต
               5.3 ศึกษาข้อมูลโดยการสัมภาษณ์-สอบถามผู้รู้
6. แหล่งเรียนรู้

               6.1 ค้นหาข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต
               6.2 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้มีประสบการณ์

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของการทำโครงงาน

              7.1ได้เป็นแนวทางในการทำโครงงาน
   7.2ได้ผลิตภัณฑ์นักเก็ตแห่งสยาม
   7.3ได้เป็นอาชีพเสริมระหว่างเรียน
   7.4 สามารถนำไปทำเป็นอาชีพได้จริงในอนาคต

 8. การประเมินงาน
      
       ก่อนดำเนินการ           ซักถามและค้นหาข้อมูล
       ระหว่างดำเนินการ      ตรวจสอบขั้นตอนและความถูกต้อง ค้นหาข้อมูลและสอบถามผู้รู้เพิ่มเติม
      สิ้นสุดการดำเนินงาน   ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน รับฟังคำแนะนำ


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


1.การทำโครงงาน

1.1.ประเภทของโครงงาน  สามารถแบ่งออกเป็น4 ประเภท ดังนี้

                                1.1.1.โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล   เป็นโครงงานเบื้องต้นที่นักเรียนควรเริ่มลงมือทำเพราะง่ายเพียงแค่ทำการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ และนำมาจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ก่อนทำการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ศึกษาชัดเจนยิ่งขึ้น
         1.1.2.โครงงานประเภทการทดลอง   มีขั้นตอนการทำศึกษาโครงงานประเภทนี้คล้ายกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีการกำหนดปัญหาที่จะศึกษา วัตถุประสงค์การตั้งสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า การออกแบบการทดลอง เป็นต้น
                            1.1.3.โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์  สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้มากมาย โดยการปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนตัวแปรบางตัวเสียใหม่ให้ต่างจากของเดิมก็จะเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ทั้งสิ้น
                              1.1.4.โครงงานประเภททฤษฎี   เป็นโครงงานที่นักเรียนต้องทำการนำเสนอหลักการ หรือแนวความคิดใหม่ๆโดยใช้แนวความคิดหรือการจินตนาการของผู้ทำโครงงานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อนหรืออธิบายทฤษฎีที่ขัดแย้งกับทฤษฎีเดิมที่มีอยู่

1.2.วิธีการทำโครงงาน

                   1.2.1. ชื่อโครงงานชื่อโครงงานต้องเป็นชื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานและยังต้องเป็นชื่อที่เรียกความสนใจจากผู้อ่านได้เป็นอย่างดีด้วย
                   1.2.2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน ควรมีการระบุให้ชัดเจนว่ามีใครบ้างและแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนใดบ้างของการทำโครงงาน
                  1.2.3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน เขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานจนบรรลุเป้าหมาย 
                  1.2.4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไรซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำเนื้อเรื่อง และสรุป
                             1.2.5. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน วัตถุประสงค์ คือการกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจนอ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน
                              1.2.6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน    ต้องสามารถบอกผู้อ่านโครงงานได้ว่าการทำโครงงานนี้ช่วยให้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง เกิดประโยชน์กับผู้ทำโครงงานอย่างไรเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไรเป็นต้น
                               1.2.7. สมมติฐานของการศึกษาโครงงาน     สมมติฐานของการศึกษาเป็นสิ่งที่ผู้ทำโครงงานต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการดำเนินโครงงานได้ชัดเจนและรอบคอบ
                               1.2.8. ขอบเขตของการทำโครงงาน     ผู้ทำโครงงานต้องกำหนดขอบเขตการทำโครงงานเพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่การกำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษาและวิธีที่จะใช้ในการศึกษา
                                1.2.9. วิธีดำเนินการโครงงานวิธีดำเนินการ คือวิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานที่ได้วางเอาไว้โดยการเริ่มตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ
                                1.2.10. วัสดุและอุปกรณ์เป็นการระบุสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการศึกษาตามโครงงาน อาทิอุปกรณ์ในการทำโครงการ หนังสือที่ต้องใช้ประกอบการอ้างอิงข้อมูลหรือแหล่งค้นคว้าอื่น ๆ เพื่อให้โครงงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                            1.2.11. ผลการศึกษาค้นคว้า นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย    
                           1.2.12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำโครงงานไปใช้ประโยชน์อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย    

ความหมายของธุรกิจและการประกอบธุรกิจ

                 คำว่า "ธุรกิจ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Business" ซึ่งมาจากคำว่า Busy ที่แปลว่า ยุ่ง, วุ่น, มีงานมาก, มีธุระยุ่ง ดังนั้นธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่จะต้องคิด ต้องแก้ปัญหา และต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาความจริงคำว่า ธุรกิจ นี้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องของเอกชนหรือของรัฐบาล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำกันโดยทั่ว ๆ ไปนั้นก็ถือว่าเป็นธุรกิจ เพียงแต่เวลาที่เราพูดถึงธุรกิจเรามักจะรับรู้ว่าเป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของการมุ่งหวังกำไร เพราะฉะนั้นความหมายที่รับรู้กัน ณ วันนี้ก็คือว่า ธุรกิจเป็นเรื่องของกิจการที่เข้ามารับความเสี่ยง

ความหมายของธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีความเกี่ยวพันในวงการของสถาบัน เพื่อที่จะจำหน่ายและให้บริการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีความสัมพันธ์กับบริการอื่นและกลุ่มผู้ทำงานร่วมมือให้บรรลุถึงจุดหมายอันเดียวกัน คือ ความสำเร็จของหน่วยงาน

การประกอบธุรกิจ หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ และการนำสินค้าและบริการนั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ฉะนั้นถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้ถูกนำมาใช้บริโภคเอง ไม่ได้นำไปขายหรือจำหน่ายจึงเรียกว่า การอุปโภคบริโภค (Consumption) ของตนเอง แต่ถ้าการผลิตสินค้าและบริการได้ถูกนำไปขายหรือจำหน่ายต่อไปจึงเรียกว่า การค้า (Commerces) / การประกอบธุรกิจ (Business Activities) สรุปก็คือว่า ธุรกิจ เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการนั่นเอง


การแบ่งประเภทของธุรกิจ  สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ  

1.  แบ่งตามลักษณะการดำเนินงานหือกิจกรรม  แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

         1.1 กิจการเกี่ยวกับการให้บริการ (Service Firm) ในธุรกิจประเภทนี้ผลผลิตที่เกิดขึ้นคือการให้บริการ  เช่น ร้านซักรีด  สถานรักษาพยาบาล ร้านตัดผม  และธนาคาร เป็นต้น

       1.2  กิจการประเภทพานิชยกรรม (Merchandising Firms) เป็นกิจการที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง  แต่จะซื้อสินค้ามาเพื่อที่จะสามารถขายไปได้ทันที  เช่น ร้านขายของชำ  ห้องสรรพสินค้า

       1.3 กิจการผลิต (Mautacturig Firms)  เป็นการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ  ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป  เช่น  บริษัทผลิตผลไม้กระป่อง  บริษัทผลิตรถยนต์  เป็นต้น

2. แบ่งตามรูปแบบของการประกอบการตามกฎหมาย  ซึ่งสามารถแบ่งตามได้ 3 ประเภทคือ

       2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว (Individual  Proprship)  เป็นกิจการขนาดเล็กให้เงินทุนไม่มากนักเจ้าของกิจการเป็นผู้บริหารเอง  เช่นร้านรายย่อย  ลักษณะธุรกิจประเทศนี้ก็คือ  เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจ  โดยไม่จำกัดจำนวน  เมื่อธุรกิจต้องการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการก็อาจทำได้ลำบากเป็นข้อเสียชองธุรกิจประเภทนี้

       2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด  (Partnership)  เป็นธุรกิจซึ่งมีบุคคลต้องแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเป็นเจ้าของโดยมีสัญญาเข้ากันเป็นหุ้นส่วนกำหนดเงื่อนไขต่างๆในการบริหารงานและแบ่งปันผลกำไรร่วมกันผู้เป็นส่วนหนึ่งคนใดจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหาร  ห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด  


         -  ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือ  ห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดห้างหุ้นส่วนสามัญจะนำไปจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้  

        - ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ  ห้างหุ้นส่วนประเภท  ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอย่างน้อย 1 คน  ต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้ ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับบริษัทจำกัดส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเสียภาษีเงินได้เหมือนบุคคลธรรมดา

2.3 บริษัทจำกัด (Limited Company)  เป็นกิจการที่ต้องขึ้นด้วยการแบ่งเงินทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นล่ะเท่าๆกัน  ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่คนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ  คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่มีความสำคัญ  เมื่อผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดตาย  หุ้นที่ถืออยู่ก็สามารถจำหน่ายให้ผู้ลงทุนอื่นๆไปได้โดยไม่ต้องเลิกบริษัทการดำเนินการใดๆ  ตามกกหมายสามารถทำในนามบริษัท

           -  บริษัทเอกชนจำกัด  หมายถึง  บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1095 “อันว่าบริษัทจำกัด  คือ  บริษัทประเภทซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน  โดยมีผู้ถือหุ้นไม่ถึงหนึ่งรอยคนรวมทั้งนิติบุคคล(ถ้ามี)ผู้ถือหุ้นดังกล่าวต่างรับผิดชอบจำกัดเยงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งให้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

         บริษัทมหาชนจำกัด  หมายถึง  บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน  จำกัดซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 15 “บริษัทมหาชนจำกัด  คือ  บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชน  โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ




ปลาทู

ปลาทู (อังกฤษ: Mackerel) เป็นปลาทะเลที่อยู่ในสกุล Rastrelliger ในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอปลาอินทรีและปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน

ประวัติ


ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จ้าง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ (กรมประมงในปัจจุบัน) เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนมาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซียเรียกปลาทูเค็มว่า "Ikan siam"

พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมนีตะวันตกมาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด

ที่อยู่และการแพร่พันธุ์    

ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจากเกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 ‰ แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 ‰ จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้ [2] ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเปิดเผยว่าทางกรมประมง ได้สำเร็จการเพาะขยายพันธุ์ปลาทูในระบบปิดเป็นครั้งแรกของโลก อันเนื่องจากการบริโภคทำให้มีการจับปลาทูมากขึ้นในแต่ละปี เป็นหวั่นเกรงกันว่า ปลาทูอาจจะสูญพันธุ์ลงได้ การนำปลาทูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงที่ได้มาจากทะเลในกระชังที่ขึงไว้ในบ่อดินนาน 6 เดือน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชายฝั่งสมุทรสาคร จนปลาเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ จึงย้ายปลาขึ้นมาเลี้ยงในถังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเพาะฟัก โดยให้อาหารสูตรเฉพาะ และเลี้ยงในระบบกรองน้ำแบบชีวภาพด้วยเครื่องโปรตีนสกิมเมอร์ เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่เหมาะสมปราศจากเมือกโปรตีนที่ตกค้าง
การบริโภคปลาทู นำมาเป็นอาหารไทยมีจำหน่ายในรูปแบบ ปลาทูสด และปลาทูนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการขายเป็นใส่ภาชนะที่เรียกว่า เข่งปลาทู นิยมนำมาทอด รับประทานคู่กับน้ำพริกกะปิ หรือ ทำเป็นน้ำพริกปลาทู ส่วนปลาทูสดนิยมนำมาทำเป็นต้มยำปลาทูเนื้อปลาทูมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ช่วยลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 


ชนิดของปลาทู
- ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น (ชื่อสามัญ: Short-bodied mackerel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma) เป็นชนิดที่นิยมบริโภคมากที่สุด
-   ปลาทูปากจิ้งจก (ชื่อสามัญ: Island mackerel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger faughni)
- ปลาลัง หรือ ปลาทูโม่ง (ชื่อสามัญ: Indian mackerel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger kanagurta)

แป้งทอดกรอบ   ในวิถีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ เน้นความสะดวกสบายสูง ต้องการมีเวลาพักผ่อนจากชีวิตประจำวันที่แสนเหนื่อยล้า ทางบริษัทอุตสาหกรรมแป้งไทยเล็งเห็นถึงความต้องการของลูกค้าเป็นความสำคัญสูงสุด โดยทีม R&D ที่มีความเข้มแข็งของเรา สามารถผลักดันการเปิดตัวผลิตภัณฑ์จากสายการผลิตแป้งผสมสำเร็จรูปใหม่ๆออกสู่ยังตลาด แป้งทอดกรอบคือผลิตภัณฑ์ผสมสำเร็จรูปของบริษัทอุตสาหกรรมแป้งไทย

เครื่องแกงพะแนง

พะแนง เป็นอาหารไทยประเภทแกง โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกง คือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เม็ดผักชี เม็ดยี่หร่า กะเทียม และเกลือพะแนงเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และอาจมีวัฒนธรรมการกินแบบเขมรผสมด้วยหรือไม่ ไม่อาจยืนยันได้แต่มีการใช้ภาษาเขมร ที่เดิมใช้สำหรับการอธิบายท่าเอาขาไขว้ หรือขัดกัน ที่เรียกว่านั่งขัดสมาธิ หรือขัดตะหมาด 

เครื่องแกงต้มยำ

 ต้มยำ (ลาว: ຕົ້ມຍຳ) เป็นซุปไทยที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ต้มยำเป็นอาหารที่รู้จักในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย เช่น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมถึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คำว่า “ต้มยำ” มาจากคำภาษาไทย 2 คำ คือ “ต้ม” และ “ยำ” คำว่า “ต้ม” หมายถึง กิริยาเอาของเหลวใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือสุก ขณะที่ “ยำ” หมายถึงอาหารลาวและไทยประเภทที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ดังนั้น “ต้มยำ” คือซุปลาวและไทยที่มีความเผ็ดร้อนและเปรี้ยว อันที่จริงคุณลักษณะของต้มยำมาจากความแตกต่างระหว่างความเผ็ดร้อนและความเปรี้ยวและกลิ่นหอมของสมุนไพรในน้ำแกง ที่สำคัญน้ำแกงนั้นประกอบด้วย น้ำต้มกระดูกและเครื่องปรุงส่วนผสมสดได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า น้ำมะนาว น้ำปลาและพริก

เครื่องเขียวหวาน

แกงเขียวหวาน (Green curry) ถือเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของคนไทย เพราะเป็นแกงที่ไม่ได้รู้จักเฉพาะคนไทยแต่ยังดังไกลไปถึงต่างประเทศอีกด้วย แกงเขียวหวานแค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกได้ถึงความอร่อยกันแล้ว แกงเขียวหวานจะมีเอกลักษณะของตัวเองโดยที่สีของน้ำแกงจะมีสีเขียว เกิดจากสีของพริกที่ใช้ทำพริกแกง แกงเขียวหวานมีหลากหลายประเภท อาทิเช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานเนื้อ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย เป็นต้น แต่ละชนิดก็คงความอร่อยไว้ไม่แพ้กัน

ผงฟู
ผงฟูทำขนมปัง (อังกฤษ: baking powder) (NaHCO3) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผลึกกเกลือ

ผงฟู (Baking Powder) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในผลองุ่น) , ไดโซเดียมไพโรฟอสเฟต (disodium pyrophosphate) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง
เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ (ผงฟูมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2)
เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว


การใช้งาน

   ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ น้ำผึ้ง
ผงฟู และเบคกิ้งโซดา ล้วนแต่เป็นสารที่ช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ส่วนมากจะใช้ในโอกาสแตกต่างกัน เบคกิ้งโซดา มักจะใช้ในขนมที่มี โกโก้ หรือ กาแฟ เป็นส่วนผสม เพราะว่าโกโก้ และ กาแฟ มีค่าเป็นด่าง ซึ่งเบคกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม เบคกิ้งโซดาจะมีจุดเสียตรงที่ว่า ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ขนมมีรสเฝื่อน แต่ก็จะมีการแก้ไขได้โดยการผสมกรดลงไปในสูตรขนม เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว ผงฟู มักจะใช้ในการทำขนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะผงฟูจะช่วนให้ขนมขึ้นฟู แต่ในอัตราที่พอควร ไม่มากเท่าโซดา ส่วนเรื่องการใช้แทนกัน ผงฟูใช้แทน เบคกิ้งโซดา ได้ แต่ เบคกิ้งโซดา ใช้แทน ผงฟูไม่ได้

ชนิดของผงฟู (Baking Powder)

ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ

เกล็ดขนมปัง (Bread Crumbs)

เกล็ดขนมปังป่น มีทั้งแบบแห้งและแบบสด แบบแห้งมีจำหน่ายตามซูปเปอร์มาร์เกตแต่ถ้าจะทำเองก็ทำได้ง่ายมาก เพียงตากขนมปัง หรืออบในเตาความร้อนต่ำแล้วบดเท่านั้น ส่วนแบบสดก็ยิ่งทำได้ง่าย เพียงเอาขนมปังเก่า เช่น บาแกตต์ ใส่เบล็นเดอร์แล้วปั่นให้ละเอียดตามชอบ สามารถนำไปผสมชีสขูดโปะหน้ากราแตงให้อบแล้วดูเหลืองกรอบใส่ซุปทำให้เนื้อข้นขึ้น เช่น ซุปกาซปาโช นอกจากนี้เกล็ดขนมปังยังสามารถนำไปยัดไส้ไก่งวงอบได้อีกด้วย
ไข่ไก่
สัตว์ตัวเมียหลายสปีชีส์วางไข่ รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา และอาจเป็นอาหารที่มนุษย์ชาติรับประทานมานับสหัสวรรษ ไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วยเปลือกไข่ที่ทำหน้าที่ปกป้องอันตรายต่อไข่, ไข่ขาวและไข่แดง รวมกันอยู่ภายในเยื่อบาง ๆ หลายชั้น ไข่สัตว์ที่นิยมรับประทานกันมีไก่ เป็ด นกกระทา ปลาและคาเวียร์ แต่มนุษย์นิยมรับประทานไข่ไก่มากที่สุด และทิ้งช่วงห่างไข่สัตว์อื่นอยู่มาก
ไข่แดงและไข่ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก] และพบใช้บ่อยในการครัว เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหารอย่างไรก็ดี แม้ไข่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้นจากคุณภาพ การเก็บ และการเกิดการแพ้ในผู้ที่มีอาการแพ้
ไก่และสิ่งมีชีวิตวางไข่อื่น ๆ เก็บเลี้ยงอย่างกว้างขวางทั่วโลก และการผลิตไข่ไก่จำนวนมากเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก มีปัญหาในอุปสงค์และความคาดหมายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่นเดียวกับการถกเถียงกันในปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการผลิตจำนวนมาก โดยสหภาพยุโรปวางแผนห้ามการเลี้ยงแบบแบตเตอรี (battery farming) หลัง พ.ศ. 2555

คุณค่าทางโภชนาการ

ไข่ไก่ให้กรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด ตลอดจนวิตามินและเกลือแร่อีกหลายชนิด รวมทั้งเรตินอล (วิตามินเอ), ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี2), กรดโฟลิก (วิตามินบี9), วิตามินบี6, วิตามินบี12, โคลีน, เหล็ก, แคลเซียม, ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมวิตามินเอ ดีและอีทั้งหมดในไข่อยู่ในไข่แดง ไข่เป็นหนึ่งในอาหารไม่กี่ชนิดในธรรมชาติที่มีวิตามินดี ไข่แดงขนาดใหญ่ให้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี (250 กิโลจูล) ไข่ขาวให้พลังงานประมาณ 15 แคลอรี (60 กิโลจูล) ไข่แดงขนาดใหญ่มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้รับประทานต่อวันที่ 300 มิลลิกรัมมากกว่าสองในสาม แม้การศึกษาหนึ่งจะชี้ว่าร่างกายมนุษย์ไม่อาจดูดซับคอเลสเตอรอลจากไข่ได้มากนัก ไข่แดงมีน้ำหนักคิดเป็น 33% ของน้ำหนักของเหลวของไข่ ไขมันทั้งหมดอยู่ในไข่แดง น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโปรตีนเล็กน้อย และสารอาหารอื่นส่วนใหญ่ ไข่แดงยังมีโคลีนทั้งหมด และไข่แดงหนึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน





วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้


1.ปลาทู

2.แป้งสาลี

3.ไข่ไก่
4.เกลือป่น
5.ผงฟู
6.เกร็ดขนมปัง
7.กระดาษซับมัน
8.เครื่องแกง
-เครื่องเขียวหวาน  
- เครื่องแกงต้มยำ  
-เครื่องแกงผัดไทย
9.น้ำมันพืช
10.แป้งข้าวโพด

ขั้นตอนการผลิต


     1.เตรียมปลาทูจำนวน 12 กิโลกรัม
     2.นำปลาทูที่เตรียมไว้ไปต้มให้สุก จนหมดกลิ่นคาวของปลา
     3.นำเนื้อปลาที่ต้มสุก มาเลือกเอาเนื้อปลาทู
      4.นำเนื้อปลามาบดให้ละเอียด
      5.นำแป้งสาลีมาคลุกกับน้ำสะอาด ไข่ไก่ผงฟูเกลือป่น โดยแบ่งให้เป็น 3 กะละมัง
                           กะละมังที่ 1 ผสมแป้งทอดกรอบ,ผงฟู,ไข่ไก่,เกลือป่น,เนื้อมะละกอและเครื่องแกงเขียวหวาน
                     กะละมังที่ 2 ผสมแป้งทอดกรอบ,ผงฟู,ไข่ไก่,เกลือป่น,เนื้อมะละกอและเครื่องต้มยำ
                     กะละมังที่ 3 ผสมแป้งทอดกรอบ,ผงฟู,ไข่ไก่,เกลือป่น,เนื้อมะละกอและเครื่องแผนง
         6.เมื่้อผสมส่วนผสมครบทั้ง 3 สูตรแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
        7.นำแป้งที่ผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้วมาปั้นให้เป็นก้อนรูปวงรีขนาดตามที่ต้องการและเหมาะสม
        8.นำนักเก็ตที่ปั้นเป็นก้อนรูปวงรีมาคลุกเคล้ากับเกร็ดขนมปังที่เตรียมไว้
        9.เตรียมน้ำมันพืชเพื่อทอดนักเก็ตปลาทู
       10.นำไปทอดจนเนื้อแป้งเป็นสีเหลืองทอง(ไม่ควรเปิดใช้ไฟแรงเกินไป)
       11.เมื่อทอดเสร็จและนำไปวางบนกระดาษซับมันเพื่อลดความมัน
       12.นำไปวางในถาดและจัดให้เป็นระเบียบหรือใส่กล่องบรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย




การแกะเนื้อปลาทู

เนื้อปลาทูที่แกะแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน

เนื้อปลาทูที่บดแล้ว

การปลอกเปลือกมะละกอ

เนื้อมะละกอที่สับแล้ว


การนวดแป้ง,ผงฟู
การคลุกเคล้าแป้ง.เนื้อปลา,ผงฟูและไข่ไก่
การผสมเนื้อแป้งและเครื่องแกงเขียวหวาน
การผสมเนื้อมะละกอลงไปในเนื้อแป้ง



การผสมไข่ไก่ลงไปในเนื้อแป้ง
การผสมผงฟูในเนื้อแป้งเครื่องแกงแผนง
นักเก็ตปลาทู


        เชิญชวนเที่ยวตลาดนัดโครงงานธุรกิจ ณ โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม อ.ปลายพระยา จ.กระบี่  ในวันที่ 21 มกราคม 2558 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป